1. หลักการใช้ อำ
1.1 ใช้เขียนคำไทยแท้ทั่วไป
เช่น
คำ ขำ กำ จดจำ ลำนำ ทำ ย้ำ
ล้ำ
1.2 ใช้เขียนคำแผลงทั่วไปที่แผลงมาเป็น
เสียง /อำ/ ไม่ว่าจะเป็นคำแผลงซึ่งมาจากคำไทยแท้ หรือ คำภาษาอื่นๆ เช่น
ขจร
|
เป็น
|
กำจร
|
ตรัส
|
เป็น
|
ดำรัส
|
เสียง
|
เป็น
|
สำเนียง
|
ขจาย
|
เป็น
|
กำจาย
|
ตรวจ
|
เป็น
|
ตำรวจ
|
1.3 ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่นซึ่งออกเสียง
/อำ/ และนำมาเขียนตามอักขรวิธีของภาษาไทย ใช้สระอำ เช่น
กำปั่น กำยาน กำมะถัน รำมะนา
กำสรวล ธำมรงค์ สำปั้น ฉนำ
กำธร กำมะหยี่
กำมะลอ กะหล่ำปลี
2. หลักการใช้ อัม
2.1 ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลี
และสันสกฤต ซึ่งเดิมเป็นเสียง / อะ / มี ม
สะกด เช่น
กัมพล
|
มาจาก
|
กมฺพล
|
คัมภีร์
|
มาจาก
|
คมฺภีร
|
อุปถัมภ์
|
มาจาก
|
อุปตฺถมฺภ
|
กัมปนาท
|
มาจาก
|
กมฺปนาท
|
อัมพฤกษ์
|
มาจาก
|
อมฺวฤกฺษ์
|
2.2 สำหรับคำบาลี-สันสกฤต
ที่นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ป (ป ผ พ ภ ม) เกิดเป็นเสียง
/อัม/ ให้เขียน /อัม/
ตามหลักเกณฑ์นี้ด้วย เช่น
สัมพัตสร
|
มาจาก
|
สํ
+ วจฺฉร
|
สัมพาหะ
|
มาจาก
|
สํ
+ วาหน
|
สัมภาระ
|
มาจาก
|
สํ
+ ภาร
|
สัมผัส
|
มาจาก
|
สํ
+ ผสฺส
|
2.3 เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆ
เช่น
กิโลกรัม นัมเบอร์ อัลบั้ม สัมมนา ปรัมปรา ทรัมเป็ต
3. หลักการใช้ อำม
ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาบาล -สันสกฤต ที่มีเสียงเดิมเป็น /อะ/
แล้วมีตัว ม ตาม เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย แผลง อะ เป็น
อำ จึงกลายเป็นรูป - อำม ในภาษาไทย
เช่น
กมลาศน์
|
เป็น
|
กำมลาศน์
|
อมฤต
|
เป็น
|
อำมฤต
|
อมหิต
|
เป็น
|
อำมหิต
|
4. หลักการใช้ -รรม
คำเสียง /อัม/ ที่แผลงมาจาก รฺ (ร เรผะ) ในภาษาสันสกฤต เขียนใช้ รร
มี ม สะกด เช่น
กรฺม
|
เขียนเป็น
กรรม
|
กรรมการ กรรมพันธุ์ กรรมวาจา
|
ธรฺม
|
เขียนเป็น
ธรรม
|
ธรรมาสน์ ธรรมสาร ธรรมวัตร
|
วรฺณ
|
เขียนเป็น
วรรณ
|
วรรณกรรม วรรณคดี
วรรณวิจักษณ์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น