บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการสะกดคำ ชุดที่ 5

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  จัดสรร
ข.  จัดสัน
ค.  จัดสรรค์
ง.  จัดสรรพ์
จ.  จัดสันต์

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สัปรส
ข.  สับปะรส
ค.  สับปะรด
ง.  สัปปะรส
จ. สัปปะรด

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ปราณีปรานอม
ข.  ประนีประนอม
ค.  ปรานีประนอม
ง.  ประณีประนอม
จ.  ปราณีประนอม

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ศีรษะ
ข.  ศรีษะ
ค.  ศีร์ษะ
ง.  ศีระษะ
จ. ศรีษะย์

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สันโดด
ข.  สันโดส
ค.  สันโดษ
ง.  สันโดท
จ. สันโดช

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สายสิน
ข.  สายสิญ
ค.  สายสิญจน์
ง.  สายสิญจณ์
จ. สายสิณญ์

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  รื่นรมย์
ข.  รื่นรม
ค.  รื่นรมณ์
ง.  รื่นรมน์
จ. รื่นรมติ์

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  อวศานต์
ข.  อวสาน
ค.  อวสานต์
ง.  อวสานว์
จ. อวสานญ์

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สังวรณ์
ข.  สังวรน์
ค.  สังวอน
ง.  สังวร
จ. สังวรญ์

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  จัดสรร
ข.  จัดสัน
ค.  จัดสรรค์
ง.  จัดสรรพ์
จ.  จัดสันต์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.
คำว่า “จัดสรร” ที่ถูกต้องพจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
จัดสรร ก. แบ่งส่วนไว้โดยเฉพาะ, ปันไว้ใช้เพื่อประโยชน์โดยเจาะจง.

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สัปรส
ข.  สับปะรส
ค.  สับปะรด
ง.  สัปปะรส
จ. สัปปะรด

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
คำว่า “สับปะรด” ที่ถูกต้องพจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
สับปะรด  น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลําต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทําสิ่งทอ ขอบใบมีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของพรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ปราณีปรานอม
ข.  ประนีประนอม
ค.  ปรานีประนอม
ง.  ประณีประนอม
จ.  ปราณีประนอม

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.
คำว่า “ประนีประนอม” ที่ถูกต้องพจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
ประนีประนอม  ก. ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน, ปรองดองกัน, อะลุ้มอล่วยกัน.

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ศีรษะ
ข.  ศรีษะ
ค.  ศีร์ษะ
ง.  ศีระษะ
จ. ศรีษะย์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.
คำว่า “ศีรษะ” ที่ถูกต้องพจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
ศีรษะ น. หัว (เป็นคําสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส).

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สันโดด
ข.  สันโดส
ค.  สันโดษ
ง.  สันโดท
จ. สันโดช

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
คำว่า “สันโดษ” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
สันโดษ  [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือสันโดษ. (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สายสิน
ข.  สายสิญ
ค.  สายสิญจน์
ง.  สายสิญจณ์
จ. สายสิณญ์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.
คำว่า “สายสิญจน์” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
สายสิญจน์  น. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  รื่นรมย์
ข.  รื่นรม
ค.  รื่นรมณ์
ง.  รื่นรมน์
จ. รื่นรมติ์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.
คำว่า “รื่นรมย์” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
รื่นรมย์  ว. สบายใจ, บันเทิง, เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงามน่ารื่นรมย์.

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  อวศานต์
ข.  อวสาน
ค.  อวสานต์
ง.  อวสานว์
จ. อวสานญ์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.
คำว่า “อวสาน” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
อวสาน  ก. จบ, สิ้นสุด. น. การสิ้นสุด, ที่สุด. (ป., ส.).

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  สังวรณ์
ข.  สังวรน์
ค.  สังวอน
ง.  สังวร
จ. สังวรญ์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.
คำว่า “สังวร” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้

สังวร  น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสหมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวรญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น