บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการสะกดคำ ชุดที่ 4

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อต่อไปนี้ เขียนผิดอักขรวิธีทั้งสองคำ
ก.  ช้อนส้อม   ซ่อมแซม
ข.  คอยท่า   ท่าน้ำ
ค.  เคลือบคลุม   คลุมเคลือ
ง.  ทุรกันดาร  จักรวาฬ

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธีทั้ง  3  คำ
ก.  ไชยชนะ   เจริญไชย   เวนัยชน
ข.  ไยดี   ไยไพ   ลำใย
ค.  หมาไน   เหล็กไน   เครื่องใน
ง.  ใฝ่ฝัน   ฝักใฝ่   ใฝ่ใจ

ข้อที่  3.  ข้อใดมีคำที่เขียนถูกอักขรวิธีเพียงคำเดียว
ก.  จำนงค์   ประมงค์  ดำรงค์
ข.  พู่ระหง   นวลหง   หางหงส์
ค.  สังวาลย์   สำอางค์   สิงโต
ง.  ปล้นสะดม   จตุสดม  จัตุรงค์

ข้อที่  4.  ข้อใด สะกดถูกทุกคำ
ก.  กำสรวล   คำรน   เข็ญใจ   กังวาล
ข.  เคี่ยวเข็ญ   เจตจำนงค์  กล้วยบวชชี  กาลเทศะ
ค.  จัดสรร   ไม้จันทร์   เจตนารมณ์   กากบาด
ง.  ชุลมุน   อานิสงค์   โจษจัน   ผาสุก
จ. กฎเกณฑ์   กิจลักษณะ   กักขฬะ  กันแสง

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ภาคพูม
ข.  ภาพพูม
ค.  พากภูมิ
ง.  ภาคภูมิ
จ. ภาคพูมิ

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อต่อไปนี้ เขียนผิดอักขรวิธีทั้งสองคำ
ก.  ช้อนซ่อม   ซ่อมแซม
ข.  คอยท่า   ท่าน้ำ
ค.  เคลือบคลุม   คลุมเคลือ
ง.  ทุรกันดาล  จักรวาฬ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.
คำว่า “ทุรกันดาล  จักรวาฬ” ที่ถูกต้องพจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้
ทุรกันดาร  ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
จักรวาล  น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
คำในข้ออื่นที่ผิด พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ส้อม น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
คลุมเครือ ว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัดไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธีทั้ง  3  คำ
ก.  ไชยชนะ   เจริญไชย   เวนัยชน
ข.  ไยดี   ไยไพ   ลำใย
ค.  หมาไน   เหล็กไน   เครื่องใน
ง.  ใฝ่ฝัน   ฝักใฝ่   ใฝ่ใจ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.
คำในข้ออื่นที่ผิด พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
ชัย  น. การชนะ, ความชนะ. (ป., ส.).
เวไนย น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
ลำไย น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Dimocarpus longan Lour. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม รสหวาน, พันธุ์ที่เป็นไม้เถาเรียก ลําไยเครือ (D. longan Lour. var. obtusus Leenh.). (๒) (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mangifera caesia Jack ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกสีม่วงอ่อน, บินยา หรือ ลํายา ก็เรียก.
หมาใน น. ชื่อหมาชนิด Cuon alpinus ในวงศ์ Canidae ขนสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเทา หางสีคลํ้ายาวเป็นพวง อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ออกหากินเป็นฝูงเวลาเช้ามืดและพลบคํ่า ล่าสัตว์อื่นกิน เช่น เก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เล็ก ๆ.
เหล็กใน น. เดือยแหลมที่มีในก้นหรือปลายหางสัตว์บางชนิด มีผึ้ง แมงป่อง เป็นต้น.

ข้อที่  3.  ข้อใดมีคำที่เขียนถูกอักขรวิธีเพียงคำเดียว
ก.  จำนงค์   ประมงค์  ดำรงค์
ข.  พู่ระหง   นวลหง   หางหงส์
ค.  สังวาลย์   สำอางค์   สิงโต
ง.  ปล้นสะดม   จตุสดม  จัตุรงค์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  คำที่ถูกคือ “สิงโต”  คำที่ผิดในข้อนี้ พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้
สังวาล  น. สร้อยเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้คล้องเฉวียงบ่า. (ป. เสวาล; ส. เศวาล, ไศวาล ว่าาหร่าย).
สำอาง  น. เครื่องแป้งเครื่องหอม เรียกว่า เครื่องสําอาง, ปัจจุบันหมายถึง สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผมเป็นต้นให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสําอาง. ว. ที่ทําให้งามสะอาดหมดจด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย.
คำในข้ออื่นที่ผิด พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
จำนง  ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
ประมง  น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้า คือ ประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
ดำรง ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลงมาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
จตุสดมภ์     น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ซึ่งแปลว่าหลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

ข้อที่  4.  ข้อใด สะกดถูกทุกคำ
ก.  กำสรวล   คำรน   เข็ญใจ   กังวาล
ข.  เคี่ยวเข็ญ   เจตจำนงค์  กล้วยบวชชี  กาลเทศะ
ค.  จัดสรร   ไม้จันทร์   เจตนารมณ์   กากบาด
ง.  ชุลมุน   อานิสงค์   โจษจัน   ผาสุก
จ. กฎเกณฑ์   กิจลักษณะ   กักขฬะ  กันแสง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ.  
คำในข้ออื่นที่ผิด พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
กังวาน  ว. ก้องอยู่ได้นาน เช่น เสียงระฆังกังวาน, มีกระแสเสียงก้องและแจ่มใส.
เจตจำนง  น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.
กากบาท  น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x ; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
อานิสงส์   ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ก.  ภาคพูม
ข.  ภาพพูม
ค.  พากภูมิ
ง.  ภาคภูมิ
จ. ภาคพูมิ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.
คำว่า “ภาคภูมิ” พจนานุกรม เขียนไว้ ดังนี้

ภาคภูมิ  ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น