หลักการใช้ สระใอ (ไม้ม้วน)
1. หลักการใช้ ใอ (
ไม้ม้วน)
คำที่เขียนด้วย สระใอ เป็นคำไทยแท้ ในภาษาไทยเรามีอยู่ ๒๐ คำ ซึ่งอาจใช้วิธีผูกเป็นบทร้อยกรองแบบต่างๆ
เพื่อช่วยความจำ เช่น
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่
|
ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
|
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ
|
มิหลงใหลใครขอดู
|
จะใคร่ลงเรือใบ
|
ดูน้ำใสและปลาปู
|
สิ่งใดอยู่ในตู้
|
มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
|
บ้าใบ้ถือใยบัว
|
หูตามัวมาใกล้เคียง
|
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง
|
ยี่สิบม้วนจำจงดี
|
คำที่เขียนด้วยไม้ม้วนนี้เป็นคำพ้องเสียงกับคำที่เขียนด้วยไม้มลายซึ่งมีความหมายแตกต่างกันอยู่ 10
คำเวลาใช้ต้องคำนึงถึงความหมายเป็นสำคัญ ได้แก่คำดังต่อไปนี้
ใคร่ รักใคร่ , ใคร่ครวญ
|
ไคร่ ตะไคร่
|
ใจ จิตใจ , พอใจ
|
ไจ ไจด้าย , ไจไหม
|
ใด เท่าใด , สิ่งใด
|
ได บันได , ไดนาโม
|
ใต้ ข้างใต้ , ใต้ฟ้า ทิศใต้ , ใต้เท้า
|
ไต้ ไต้จุดไฟ, ไต้ฝุ่น, ไต้ก๋ง, ไต้หวัน
|
ใน ข้างใน, ภายใน, หมาใน, เหล็กใน
|
ไน ไนปั่นด้าย, ไนลอนปลาไน, แม่น้ำไนล์
|
ใบ ใบไม้ , ใบเรือ
|
ไบ ตะไบ , สไบ
|
ใย ใยบัว , ยองใย, เยื่อใย , ห่วงใย
|
ไย ไยดี ,ไยไพ, ไยไฉน , ลำไย
|
ใส น้ำใส, สดใส, สุกใส , เสียงใส
|
ไส ไสกบ , ไสข้าง, ผลักไส , เสือกไส
|
ให้ ให้การ, ให้ของ, ส่งให้, มอบให้
|
ไห้ ร้องไห้ , ร่ำไห้
|
ใหล หลงใหล
|
ไหล น้ำไหล
|
2. หลักการใช้ ไอ (ไม้มลาย)
การเขียนคำที่ใช้สระไอ (ไม้มลาย
) ในการเขียนคำภาษาไทยในปัจจุบัน มีหลักสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
2.1 คำไทยทุกคำที่ออกเสียง /ไอ/
นอกเหนือจากคำที่ใช้ไม้ม้วน ให้เขียนด้วย ไอ (ไม้มลาย) เช่น
ไก่, ตะไคร้ , คลื่นไส้ , ไอแดด ,ไฟ ฯลฯ
2.2 คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ซึ่งรูปคำเดิมใช้สระไอ ( ไม้มลาย )
ให้เขียนโดยใช้ ไอ ตามรูปแบบคำเดิม เช่น
ไอศฺวรฺย
|
ไอศวรรย์
|
ไพรสณฺฑ
|
ไพรสณฑ์
|
ไวชยฺนต
|
ไพชยนต์
|
ไวฑูรฺย
|
ไพฑูรย์
|
คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีรูปคำเดิมเป็นเสียงสระอิ , อีและเอ แล้วแผลงเป็นเสียง ไอ ในภาษาไทยให้ใช้ ไอ (ไม้มลาย) เช่น
รวิ
|
อำไพ
|
วิหาร
|
ไพหาร
|
ตรี
|
ไตร
|
วิจิตร
|
ไพจิตร
|
เววฺจน
|
ไวพจน์
|
2.3 คำที่มาจากภาษาต่างประเทศทุกคำไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน
เขมร มอญ พม่า หรือชาติตะวันตก
เมื่อเขียนเป็นคำไทยให้ใช้สระไอ (ไม้มลาย)
เช่น
ไถง สไบ ไศล สไลด์
อะไหล่ ไวน์ ไมโครเวฟ ไฮโดรเจน
ไนลอน
3. หลักการใช้ ไอย (ไม้มลาย
มี ย ตาม)
3.1 คำไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
ซึ่งมีรูปเดิม เอยย ( เอย - ยะ) เมื่อเป็นคำภาษาไทย แผลง เอ เป็น ไอ แล้วตัด ย ออก
หนึ่งตัว เช่น
เวเนยฺยสตฺว
|
เป็น
|
เวไนยสัตว์
|
อธิปเตยฺย
|
เป็น
|
อธิปไตย
|
อสงฺเขยฺย
|
เป็น
|
อสงไขย
|
อาชาเนยฺย
|
เป็น
|
อาชาไนย
|
ภูวเนยฺย
|
เป็น
|
ภูวไนย
|
เวยฺยากรณ
|
เป็น
|
ไวยากรณ์
|
3.2 คำสันสกฤตบางคำ รูปเดิมเขียนเป็น เอย ( เอ-ยะ )
เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เราแผลงเสียง เอ เป็น
ไอ เขียนรูปคำเป็น ไอย
เช่น
อุปเมย
|
เป็น
|
อุปไมย
|
ภาคิเนย
|
เป็น
|
ภาคิไนย
|
เสยฺยาสน
|
เป็น
|
ไสยาสน์
|
3.3 คำบางคำไม่ได้รูปคำมาจาก
เอยย หรือ เอย ดังกล่าว แต่เราเขียนเสียง / อัย / โดยใช้รูป ไอย
โดยความนิยม และเคยชินกันแล้ว เช่น
ไทย เดิมใช้ ไท ต่อมาเขียนเป็น ไทย
ไอยรา มาจากคำว่า
ไอราวณ (ภาษาสันสกฤต) ต่อมาตัด “วณ” ออกไป เหลือ “ไอรา” และแทรก “ย” เพื่อประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์
4. หลักการใช้ อัย (
เสียง อะ
มี ย สะกด )
การเขียนรูป อัย นี้ เป็นการเขียนรูปคำที่มาจากภาษาบาลี
และสันสกฤต ซึ่งรูปคำเดิมเป็นคำที่ออกเสียง / อะ / แล้วมี ย ตามหลัง
หรือมาจากเสียง / อะ-ยะ / เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เปลี่ยน “ อะ” เป็นไม้หันอากาศ และใช้ “ย”
เป็นตัวสะกด เช่น
ชย
|
เป็น
|
ชัย
|
วินย
|
เป็น
|
วินัย
|
ภย
|
เป็น
|
ภัย
|
ปฺรศฺรย
|
เป็น
|
ปราศรัย
|
วินิจฺฉย
|
เป็น
|
วินิจฉัย
|
เมรย
|
เป็น
|
เมรัย
|
,💯👍
ตอบลบ