ไม้ไต่คู้ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
ใช้กับคำไทยแท้ที่ออกเสียงสั้น เช่น
1.1 สระเอะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น
และเขียนพยัญชนะต้นไว้ตรงกลางระหว่างสระเอ กับสระอะ
เมื่อมีตัวสะกดสระอะจะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้
เช่น
ล – เ – ะ – บ = เล็บ
ก – เ – ะ – ง = เก็ง
1.2 สระแอะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น
และเขียนพยัญชนะต้นไว้ตรงกลางระหว่างสระแอ กับสระอะ
เมื่อมีตัวสะกดสระอะจะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้
เช่น
ข – แ – ะ – ง = แข็ง
1.3 สระเอาะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น
และเขียนพยัญชนะต้นตรงกลางถ้ามีตัวสะกดสระจะลดรูปไปหมดและจะกลายเป็นตัวออกับไม้ไต่คู้ เช่น
ล – เ – าะ – ก = ล็อก
1.4 ถ้า ก. เป็นพยัญชนะต้นใช้วรรณยุกต์โท
แต่ไม่มีตัวสะกดสระทั้งหมดจะหายไปแล้วใช้ไม่ไต่คู้แทน เช่น
ก – เ – าะ +วรรณยุกต์โท – เ ก้าะ =
ก็
คำไทยที่แผลงมาจากภาษาบาลีสันสกฤต
ไม่ใช้ไม้ไต่คู้ เช่น
เบญจ เบญจา เพชร เพชฆาต เวจ อเนจอนาถ
ฯลฯ
คำที่มาภาษาอื่นบางคำให้ใช้ไม้ไต่คู้ เช่น
เสด็จ เท็จ
เพ็ญ ( เขมร)
ตาเต็ง (จีน=หัวหน้าคนงาน)
เช็ค แร็กเกต เซ็น
ช็อคโกแลต เต็นท์ ( อังกฤษ )
หลักการใช้ ไม้ยมก (ๆ)
ยมก แปลว่า คู่ หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้สำหรับให้อ่านซ้ำ ๒ ครั้ง มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคเพื่อให้อ่านซ้ำคำ วลี หรือประโยคอีกครั้ง เช่น
เด็กเล็กๆ
|
อ่านว่า
|
เด็กเล็กเล็ก
|
ในวันหนึ่งๆ
|
อ่านว่า
|
ในวันหนึ่งวันหนึ่ง
|
แต่ละวันๆ
|
อ่านว่า
|
แต่ละวันแต่ละวัน
|
ข้อสังเกต
1. ใช้ซ้ำคำ ที่เป็นคำชนิดเดียวกัน
หรือเพื่อย้ำความหมายให้เด่น เช่น เร็ว ๆ ใกล้ๆ งูๆ ปลาๆ
แดงๆ นกชนิดต่างๆ บ้านเป็นหลังๆ
2 ห้ามใช้ไม้ยมก หรือ ยมก (ๆ) ในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 เมื่อเป็นคำคนละบทคนละความ เช่น
แม่จะไปปทุมวันๆนี้
(ใช้ผิด) ต้องเขียนเป็น แม่จะไปปทุมวันวันนี้
นายดำๆนา
(ใช้ผิด) ต้องเขียนเป็น นายดำดำนา
2.2 เมื่อรูปคำเดิมเป็นคำ ๒
พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น
(๑) นานา
เช่น นานาชาติ นานาประการ
(๒) จะจะ เช่น เขียนจะจะ ดำนาจะจะ
เห็นจะจะ
2.3 เมื่อเป็นคำคนละชนิดกัน
เช่น
คนคนนี้มีวินัย
(คน คำแรกเป็น สามานยนาม, คน คำหลังเป็น ลักษณนาม )
๒.๔ ไม่นิยมใช้ ไม้ยมกในคำประพันธ์ เช่น
"ใดใดในโลกล้วน
อนิจจัง"
"ศิลาหลักผลักผลักก็ค่อยไกล
ชลาลัยยังรู้แห้งเพราะแรงลม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น