บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการสะกดคำ ชุดที่ 7

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  พุทธชาติ
ข.  พนัน
ค.  หัสดา
ง.  พัสถาร

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  เพ็ชร
ข.  เพชฌฆาต
ค.  พยักพเยิด
ง.  บิดพลิ้ว

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  อะลุ้มอล่วย
ข.  อเนดอนาถ
ค.  อาเพศ
ง.  อาศัย

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ฉบัง
ข.  ฉบับ
ค.  ฉเพาะ
ง.  ฉะนั้น

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  โจทย์เลข
ข.  โจทข์จัน
ค.  โจทก์จำเลย
ง.  จัตุรงค์

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  นกพิราพ
ข.  นกพิราบ
ค.  นกพิลาบ
ง.  นกพิลาป

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  พิศดาร
ข.  พัศดุ
ค.  พิศดู
ง.  พิศมัย

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  สังสรร
ข.  เสกสรรค์
ค.  สรรค์แสร้ง
ง.  สร้างสรรค์

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  โอกาศ
ข.  เบญจเพศ
ค.  อาเพศ
ง.  เพทภัย

ข้อที่  10.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  ดำรงค์
ข.  เบญจรงค์
ค.  ประมงค์
ง.  ธำรงค์

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  พุทธชาติ
ข.  พนัน
ค.  หัสดา
ง.  พัสถาร

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
พัสถาน  น. หลักฐาน, มักใช้เข้าคู่กับคํา สมบัติเป็น สมบัติพัสถาน.

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  เพ็ชร
ข.  เพชฌฆาต
ค.  พยักพเยิด
ง.  บิดพลิ้ว

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
เพชร, เพชร  น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอยอื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร.(ส. วชฺร; ป. วชิร).

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  อะลุ้มอล่วย
ข.  อเนดอนาถ
ค.  อาเพศ
ง.  อาศัย

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
อเนจอนาถ  ก. สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง +อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ฉบัง
ข.  ฉบับ
ค.  ฉเพาะ
ง.  ฉะนั้น

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
เฉพาะ  ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  โจทย์เลข
ข.  โจทข์จัน
ค.  โจทก์จำเลย
ง.  จัตุรงค์

วิเคราะห์

คำที่ออกเสียง “โจด” ซึ่งเป็นคำพ้องเสียง และชอบออกข้อสอบมี 3 คำ พจนานุกรมเขียนไว้ ดังนี้
โจทก์  น. (กฎ) บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล; ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์).(ป., ส.).
โจทย์  น. คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.
โจษ, โจษจัน ก. พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, จรรโจษหรือ จันโจษ ก็ใช้.

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  นกพิราพ
ข.  นกพิราบ
ค.  นกพิลาบ
ง.  นกพิลาป

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  พิศดาร
ข.  พัศดุ
ค.  พิศดู
ง.  พิศมัย

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  คำว่า “พิศดู” พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้ พิศดู  ก. พิจารณาดูให้รอบคอบ, พิจารณาดูให้ถี่ถ้วน.
คำในตัวเลือกอื่น พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้
พิสดาร  กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
พัสดุ  น. สิ่งของต่าง ๆ, เครื่องใช้ไม้สอย, ที่ดิน, บ้านเรือน. (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
พิสมัย  น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  สังสรร
ข.  เสกสรรค์
ค.  สรรค์แสร้ง
ง.  สร้างสรรค์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  ดูความหมายจากพจนานุกรมด้านล่าง
สร้างสรรค์  ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
สรรค์  ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สร้าง เป็นสรรค์สร้าง หรือ สร้างสรรค์. (ส. สรฺค ว่า สร้างอย่างพระพรหมสร้างโลก).

คำในตัวเลือกอื่น พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้
สังสรรค์  ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงานสังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงานชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
เสกสรร  ก. เลือกทำหรือพูดเอาเอง เช่น เขามีเงินมีทอง จะเสกสรรอะไรก็ทำได้.
สรรแสร้ง  ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  โอกาศ
ข.  เบญจเพศ
ค.  อาเพศ
ง.  เพทภัย

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  พจนานุกรมเขียนดังนี้
อาเพศ  น. เหตุที่เกิดขึ้นอย่างผิดปรกติวิสัย ถือว่าเป็นลางไม่ดี. (อาจมาจาก ส. อาเวศ).

คำในตัวเลือกอื่น พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้
โอกาส   น. ช่อง, ทาง; เวลาที่เหมาะ, จังหวะ. (ป.; ส. อวกาศ).
เบญจเพส  ว. ยี่สิบห้า เช่น อายุถึงเบญจเพส. (ป. ปญฺจวีส).
เภทภัย  [เพดไพ] น. ภัยต่าง ๆ.

ข้อที่  10.  ข้อใดเขียนถูกอักขรวิธี
ก.  ดำรงค์
ข.  เบญจรงค์
ค.  ประมงค์
ง.  ธำรงค์

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  พจนานุกรมเขียนดังนี้
เบญจรงค์ น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วยเบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.

คำในตัวเลือกอื่น พจนากรมเขียนไว้ ดังนี้
ดำรง  ก. ทรงไว้, ชูไว้, ทําให้คงอยู่, เช่น ดํารงวงศ์ตระกูล. ว. ตรง, เที่ยง. (แผลงมาจากตรง). (ข. ฎํรง่, ตมฺรง่).
ประมง น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
ธำรง  ก. ทรงไว้, ชูไว้.

ข้อสังเกต  ไม่มี ค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น