บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบการสะกดคำ ชุดที่ 6

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  เก่งกาด
ข.  ประกาศ
ค.  โอกาส
ง.  อากาศ

ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  บันทุก
ข.  บรรทัด
ค.  บรรเลง
ง.  บันทึก

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  สะดุ้ง
ข.  สะบาย
ค.  สะพาน
ง.  สะกิด

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ความสุข
ข.  ผาสุข
ค.  วันศุกร์
ง.  ข้าวสุก

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ดำริ
ข.  ดำรง
ค.  พะอง
ง.  ธำมะรง

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ทะนง
ข.  ทะนาน
ค.  ทยอย
ง.  ทะแยง

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ทรุดโซม
ข.  ซาบซ่าน
ค.  ซอกแซก
ง.  ทรวดทรง

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  จาระไน
ข.  เจียระนัย
ค.  จำนง
ง.  จัตุรัส

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  บาดทะพิษ
ข.  บาดทะยัก
ค.  บ่วงบาศ
ง.  บาดหลวง

ข้อที่  10.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  พิสมัย
ข.  พรรณนา
ค.  พิศวาท
ง.  พัสดุ

เฉลย

ข้อที่  1.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  เก่งกาด
ข.  ประกาศ
ค.  โอกาส
ง.  อากาศ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
เก่งกาจ  ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร.


ข้อที่  2.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  บันทุก
ข.  บรรทัด
ค.  บรรเลง
ง.  บันทึก

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
บรรทุก  ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้ายไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้ โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น บรรทุกงานไว้มาก, (ปาก) กินเกินอัตรา เช่น บรรทุกเข้าไปจนท้องแทบแตก.
คำที่มี “บัน” นำหน้า มีผู้แต่งเป็นกาพย์ยานี 11 สำหรับท่อง ไว้ดังนี้

   บันดาลลงบันได
บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี
เสียงบันลือสนั่นดัง
   บันโดยบันโหยไห้
บันเหินไปจากรวงรัง
บันทึงถึงความหลัง
บันเดินนั่งนอนบันดล
   บันกวดเอาลวดรัด
บันจวบจัดตกแต่งตน
คำบันนั้นฉงน
ระวังปนกับรอหัน

ข้อที่  3.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  สะดุ้ง
ข.  สะบาย
ค.  สะพาน
ง.  สะกิด

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
สบาย ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูกๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ;
สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย;
พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย;ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน;
ไม่เจ็บไม่ไข้เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้;
มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
ในการจำคำว่า “สบาย” ให้นึกว่า เมื่อไหร่เขียนคำนี้ สบายดีเพราะไม่ต้องเขียนสระอะ

ข้อที่  4.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ความสุข
ข.  ผาสุข
ค.  วันศุกร์
ง.  ข้าวสุก

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
ผาสุก  น. ความสําราญ, ความสบาย. (ป.).

ข้อที่  5.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ดำริ
ข.  ดำรง
ค.  พะอง
ง.  ธำมะรง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
ธำมรงค์  (ราชา) น. แหวน. (เทียบ ข. ทํรง่).

ข้อที่  6.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ทะนง
ข.  ทะนาน
ค.  ทยอย
ง.  ทะแยง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
ทแยง  [ทะ-] ว. เฉียง, เฉลียง.

ข้อที่  7.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  ทรุดโซม
ข.  ซาบซ่าน
ค.  ซอกแซก
ง.  ทรวดทรง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
ทรุดโทรม  ว. เสื่อมไปเพราะร่วงโรย ครํ่าคร่า หรือตรากตรําเกินไป.

ข้อที่  8.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  จาระไน
ข.  เจียระนัย
ค.  จำนง
ง.  จัตุรัส

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
เจียระไน  ก. ทําเพชรพลอยหรือแก้วให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการแล้วขัดเงา. (เทียบทมิฬ จาไณ).

ข้อที่  9.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  บาดทะพิษ
ข.  บาดทะยัก
ค.  บ่วงบาศ
ง.  บาดหลวง

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
บาทหลวง น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.

ข้อที่  10.  ข้อใดเขียนผิดอักขรวิธี
ก.  พิสมัย
ข.  พรรณนา
ค.  พิศวาท
ง.  พัสดุ

วิเคราะห์

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค.  คำที่ถูกต้องตามพจนานุกรมเขียนดังนี้
พิศวาส  ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น